วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

คำขวัญรณรงค์การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำ



คำขวัญรณรงค์การไม่ทิ้งขยะลงแม่น้ำ


ปลูกฝังปลูกจิต                     ปลูกความคิดเด็กไทย


ทิ้งขยะสิ่งของใด                    นั่นมิใช่ที่สาธารณะ




มีน้ำสะอาดแล้วชุมชนจะเป็นอย่างไร


มีน้ำสะอาดแล้วชุมชนจะเป็นอย่างไร

1. มนุษย์ใช้น้ำดื่ม น้ำชนิดนี้ต้องสะอาดปลอดภัย สิ่งเหล่านี้เริ่มสำคัญและจำเป็นมากขึ้นเมื่อตอนรู้จักว่าน้ำไม่
สะอาดนั้นเปรียบเสมือนยาพิษ
2. มนุษย์ใช้ในบ้านเรือน เช่น ใช้อาบ ใช้ซักฟอก ใช้ปรุงอาหาร ชำระล้าง ถ่ายเทของเสีย กะกันว่าคนหนึ่ง ๆ ถ้าจะใช้น้ำให้พอดี ๆ คนหนึ่ง ๆ จะต้องใช้น้ำ 100 ลิตรต่อวัน
3. ใช้ในด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมทุกชนิดต้องใช้น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการ
ถลุงเหล็ก ต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก คือจะใช้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมแต่ละชนิด บางครั้งถ้าโรงงาน
อุตสาหกรรมขาดแคลนน้ำมากเข้าก็อาจเลิกกิจการการอุตสาหกรรมใช้น้ำดังนี้
3.1 ใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
3.2 ใช้เป็นตัวละลายวัตถุที่ใช้ในอุตสาหกรรม
3.3 ใช้เป็นตัวทำความสะอาดล้างวัตถุดิบ
3.4 ใช้กำจัดของเสียของโรงงานอุตสาหกรรม
4. น้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์น้ำ
5. ใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ว่ายน้ำ พายเรือ และอื่น ๆ
6. ใช้เป็นทางคมนาคม การขนส่งทางน้ำมีความสำคัญมาก เพราะเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
7. น้ำให้พลังงาน อาจจะนำพลังงานไปใช้ในโรงงานโดยตรง หรือนำไปเปลี่ยนเป็นกระแสไฟฟ้า
8. ใช้ในการเกษตรเป็นเรื่องสำคัญ เพราะน้ำจำเป็นสำหรับความเจริญงอกงามของพืชซึ่งหมายถึงพืชที่มนุษย์
เพาะปลูกด้วย น้ำที่ใช้ในการนี้มีมากกว่าการใช้น้ำประเภทอื่น ๆ
ใช้ในการเกษตร

ใช้อาบชำระสิ่งสกปรก

ใช้ดื่มกิน




การปลูกฝังจิตสำนึกต่อชุมชน


การปลูกฝังจิตสำนึกต่อชุมชน

จิตสำนึกที่ดีจำเป็นต้องปลูกสร้างอย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาการจากการมีจิตสำนึกในเรื่องเล็กๆ  ภายในตัวตน (ปัจเจก) ไปสู่การมีจิตสำนึกทางสังคม ซึ่งขยายวงกว้างและมีความซับซ้อนมากขึ้น เช่นจิตสำนึกของความเป็นชาติ ดังนั้นการสอนเด็กให้รักความสะอาดไม่ทิ้งขยะในสถานที่สาธารณะ จึงอาจส่งความหมายถึง ความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม การปลูกฝังให้เด็กรู้จักการแบ่งปันก็อาจส่งความหมายถึงการมีสังคมที่ผาสุก เอื้ออาทรและแบ่งปัน การปลูกฝังให้เด็กเคารพต่อกฎกติกาต่างๆ ก็มีนัยยะ ถึงการเป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์ไม่โกงเงินหรือทำสิ่งผิดกติกาของสังคม ดังนั้นหากไม่สามารถสร้างจิตสำนึกทางสังคม  ให้กลับมาอยู่ในเด็กและผู้ใหญ่วันนี้ได้ เราก็ต้องเตรียมใจรับความตกต่ำสุดๆ ของประเทศชาติในอนาคตอันใกล้ การเรียกจิตสำนึกดี ๆ ให้กลับมาเท่านั้น จึงจะทำให้สังคมไทยออกจากกองทุกข์ได้ เฉกเช่น ท่านพุทธทาสภิกขุ ชี้ทางสว่างไว้ให้กับชาวโลกไว้ว่า ถ้าต้องการสังคมที่เป็นสุขและสงบเย็น ต้องนำเอาศีลธรรมกลับมาสู่สังคม ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ” “ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศเป็นวลีสั้น

และซ้ำ ๆ ของท่านอาจารย์พุทธทาสที่มีความหมายต่อการเปลี่ยนแปลงสังคมยิ่ง

นัก



การปลูกฝังจิตสำนึกต่อครอบครัว


การปลูกฝังจิตสำนึกต่อครอบครัว

      การปลูกฝังจิตใจให้บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรมจริยธรรมซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดจากภายในต้องเริ่มจากสังคมครอบครัวก่อนเนื่องจากครอบครัวเป็นสังคมที่เล็กที่สุด และสามารถพูดคุยกันได้อย่างทั่วถึง   
"จิตสาธารณะ" เป็นสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญในการปลูกจิตสำนึกให้คนรู้จักเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ มีความร่วมมือในการทำประโยชน์เพื่อส่วนรวมช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม ช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเป็นหลักการในการดำเนินชีวิต ช่วยแก้ปัญหาและสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคม  

การปลูกฝังจิตสำนึกต่อให้คนในครอบครัวมีจิตสาธาราณะ

การแก้ไขหรือป้องกัน อะไรดีกว่ากัน?


การแก้ไขหรือป้องกัน อะไรดีกว่ากัน?

สำหรับทางผู้จัดทำนั้น คิดว่าการป้องกันนั้นสามารถทำได้ดีกว่า การแก้ไข เพราะว่าการป้องกันสามารถทำได้ทุกวัยและทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ช่วยกันรณรงค์ไม่ให้ทิ้งของเสียลงแม่น้ำ ปลูกฝังติดสำนึกต่อประชาชนในพื้นที่ แต่การแก้ไขปัญหานั้น ต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในการจัดทำ ค่อนข้างยุ่งยากกว่าการป้องการน้ำเสีย
การร่วมใจกันเก็บขยะมูลฝอยในแม่น้ำ

การเติมอากาศบำบัดน้ำเสีย


การป้องกันน้ำเสีย


การป้องกันน้ำเสีย


1)ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ

2)บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ

3)ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน

4)ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ในกิจกรรมทางการ

เกษตร หรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน

5)สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาคุณภาพ

แหล่งน้ำและประหยัดการใช้น้ำเท่าที่จำเป็น


การเก็บเศษขยะในแม่น้ำ

เขียนป้ายเตือน



การแก้ไขน้ำเสีย


การแก้ไขน้ำเสีย


น้ำดีไล่น้ำเสีย
          เป็นวิธีการใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไปและช่วยให้น้ำเน่าเสียเจือจางลง พระราชดำรินี้ได้นำมาแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสียใน คลองของกรุงเทพมหานคร โดยใช้น้ำจากแม่น้ำเจือจางน้ำเน่าเสียและชักพาสิ่งสกปรกจากคลองต่างๆ ทำให้คลองสะอาดขึ้นได้เป็นอย่างดี